พิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง บริษัท เอ็นเทค ซีเคียวริตี้แอนด์เรสคิว จำกัด พัฒนาการสอนด้านระบบความปลอดภัย และการบรรเทาสาธารณภัย ตามมาตรฐานสากล

มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ร่วมมือ  บริษัท เอ็นเทค ซีเคียวริตี้แอนด์เรสคิว จำกัด ลงนาม MOU พัฒนาการสอนด้านระบบความปลอดภัย และการบรรเทาสาธารณภัย ตามมาตรฐานสากลวันที่ 14 มิถุนายน 2566 รศ.นพ.อนันต์ มโนมัยพิบูลย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช นายสมพร ม่วงแก้ว กรรมการบริษัท และนางสาวเรวดี ธารธนารัตน์ กรรมการบริษัทบริษัท เอ็นเทค ซีเคียวริตี้แอนด์เรสคิว

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง บริษัทด็อกควิตี้ (ไทยแลนด์) จำกัด กับ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 ณ บริเวณโถง ชั้น 1 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ คือ บริษัทฯ และมหาวิทยาลัยฯ ตกลงร่วมมือกันใช้แอปพลิเคชันที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทฯเพื่อทำกิจกรรมวิชาการ เช่น การบรรยายวิชาการความรู้แบบออกอากาศสด การบรรยายวิชาการแบบบันทึกวิดีโอ การทำ Cases Presentation การติวสอบบอร์ดของแพทย์การจัดประชุมและสัมมนาทางวิชาการ และงานวิชาการรูปแบบต่าง ๆ ทั้งระดับประเทศและนานาชาติที่เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาแพทย์ และแพทย์ทุกสาขา รวมถึงตกลงทำช่องทางในการสื่อสารของแพทย์และพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลทางวิชาการให้กับบุคลากรทางการแพทย์ของมหาวิทยาลัยฯ

บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการให้บริการการทดสอบภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในการทำงาน (Test of English Communication in the Workplace : TEC-W) ระหว่าง สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กับมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ลงนามวันที่ 11 ตุลาคม 2565

ลงนามความร่วมมือจัดการทดสอบภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในการทำงาน (TEC-W) มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) กำหนดแนวทางและร่วมส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากผลคะแนนการทดสอบภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในการทำงาน เพื่อแสดงคุณสมบัติด้านความสามารถด้านภาษาของนิสิต นักศึกษา บุคลากรในหน่วยงานเข้าร่วมการทดสอบ 2) ร่วมติดตามและประเมินผลการทดสอบภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในการทำงานเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ลงนามวันที่ 5 ตุลาคม 2565

บันทึกความร่วมมือทางวิชาการในการตรวจสอบการลอกเลียนงานวรรณกรรม ทั้งสองฝ่ายจึงได้ตกลงทำบันทึกข้อตกลงฉบับนี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสร้างเครือข่ายระหว่างจุฬาฯ กับสถาบันการศึกษา หรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่เป็นหน่วยงานของภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ ในการตรวจสอบและป้องกันการลอกเลียนงานวรรณกรรม 2) เพื่อเป็นการป้องปรามมิให้มีการกระทำอันเป็นการลอกเลียนงานวรรณกรรมของบุคคลอื่น

บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ลงนามวันที่ 5 ตุลาคม 2565

บันทึกข้อตกลงความร่วมมือฉบับนี้จัดทำขึ้นโดยตระหนักถึงความสำคัญในงานวิชาการ การส่งเสริมการศึกษา การจัดการเรียนการสอน วิจัย การบริการทางวิชาการแก่ภาคสังคม ชุมชน และองค์การ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งอยู่ในรูปแบบการจัดการศึกษา และการฝึกอบรม  โดยมีวัตถุประสงค์ของการลงนาม ดังนี้ 1) ร่วมกันสนับสนุน และร่วมมือในการจัดการเรียนการสอนในด้านความปลอดภัย และการปฏิบัติงานบนที่สูง ตามมาตรฐานสากลให้กับบุคลากร และนักศึกษาของมหาวิทยาลัย 2) สนับสนุนความร่วมมือ ในการบริการทางวิชาการ โดยการจัดหลักสูตรฝึกอบรมให้กับภาคสังคม ชุมชน และองค์การ ตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย และบริษัท

1 3 4 5 6 7 20